CIRCULAR MARK

CIRCULAR MARK


ฉลาก CIRCULAR MARK เป็นโครงการวิจัยที่ วีกรีน คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน หรือ กลุ่ม PPP Plastics ร่วมดำเนินโครงการในชื่อ "การพัฒนาระบบฉลากสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์หมุนเวียนอันเป็นการส่งเสริมการหมุนเวียนวัสดุเพื่อขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศไทย" โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งข้นของประเทศ หรือ บพข. ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน

บริษัทที่ต้องการขอฉลาก CIRCULAR MARK สำหรับผลิตภัณฑ์ใดๆ ต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการก่อน ซึ่งครอบคลุมประเด็นปัญหาการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง การเกิดขยะ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ โดยตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์มุ่งเป้าไปที่ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า หมุนเวียนในระบบเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ลดปริมาณขยะ และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศ

CIRCULAR MARK  ภายใต้ 3 แนวคิด

1) Life cycle thinking
คำนึงถึงวัฏจักรการใช้ผลิตภัณฑ์อย่างคุ้มค่า

2) 12Rs: Circular products
คำนึงถึงการใช้ผลิตภัณฑ์หมุนเวียนตามหลัก 12R

  • Reduce การลดการใช้
  • Repair การซ่อมแซม
  • Recondition การปรับปรุง
  • Reuse การใช้ซ้ำ
  • Return การส่งคืน
  • Recover การนำกลับคืนมาใหม่
  • Recycle การรีไซเคิล
  • Refill การเติม
  • Refurbish การปรับปรุงใหม่
  • Reclamation การเรียกคืน
  • Redesign การออกแบบใหม่
  • Remanufacture การผลิตใหม่

3) Resource use efficiency + Value added
คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้

 

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เลขที่ 2 อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ (มทรก.) ชั้น 8 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทรศัพท์: (662) 345-1273 อีเมล์: thaiecoproducts@gmail.com
เว็บไซต์นี้เป็นการรวบรวมข้อมูลสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากหน่วยงานที่ให้การรับรองฉลาก ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้รับรองข้อมูลใดๆ

Today
189

Online
0

Total
237,954